http://donkloi.siam2web.com
 

วัดดอนกลอย 

 

ประวัติความเป็นมาของวัด 

วัดดอนกลอย ตั้งอยู่เลขที่ 57 หมู่ที่ 5 ตำบลดอนกลอย อำเภอหนองขา

หย่าง จังหวัดอุทัยธานี มีเนื้อที่ 21 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา สังกัดนิกายมหายาน

การสร้างวัดได้สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2000 ได้พระราชทาน

วิสุคามสีมา ในราว พ.ศ. 2300 การสร้างวัดขึ้นแต่เดิมนั้นไมมี่ใครทราบความเป็นมาที่แนชั่ด

เจ้าอาวาสที่ทราบรายนาม มี 7 รูป

1. พระครูอุปพัทธรรมคุณ

2. พระอธิการหย่ง

3. พระอธิการทองคำ

4. พระอธิการบำรุง

5. พระอธิการสมชาย

6. พระอธิการน้อย

7. พระใบฎีการังสรรค์ สิรินธโร

วัดดอนกลอย 

สถานที่ตั้ง เลขที่ 57 หมู่ที่ 5 ตำบลดอนกลอย อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี

ชื่อเจ้าอาวาส พระใบฎีการรังสรรค์ สิริน.ธโร

จำนวนพระภิกษุ 5 รูป สามเณร - รูป

เนื้อที่ของวัด 21 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา

โบราณสถาน 

- วิหารเก่า (อายุประมาณ 90 ปี เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป )

- วิหารหลวงพ่อจู ( อดีตท่านเจ้าอาวาส )

- เจดีย์สมัยโบราณ

- สระน้ำสมัยก่อน

- ศาลาหลังเก่า ( สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2494 )

โบราณวัตถุ 

- พระพุทธรูป

- ของใช้สมัยก่อน เช่น ถ้วยชามสมัยเก่า กาโบราณ เป็นต้น

- ตู้หอไตรพระปิฎก

- ธรรมมาสเก่า ( สร้างประมาณ พ.ศ. 2471 อายุประมาณ 78 ปี )

- ภาพพุทธประวัติ ( ตั้งแต่ พ.ส. 2500 )

กิจกรรมประจำปีของวัด 

- งานวัด ประมาณเดือน 4 ( การทำบุญอัฐิ )

- งานสงกรานต์ ( สงน้ำพระ อาบน้ำผู้ใหญ่ )

หลวงพ่อจู 

 

วิหารหลวงพ่อจู 

 

 

 

ประวัติหลวงพ่อจู  จันทปัญโญ
   
พระครูอุปพัทรธรรมคุณ หรือหลวงจู  จันทปัญโญ นามเดิมว่า จู นามสกุล  เยี่ยมสนธิ  เป็นบุตรคนที่  5  ของนายผึ้ง  นางชวน  เกิดที่บ้านหมู่ที่  8  ตำบลทองหลาง  อำเภอโนนไทย  จังหวัดนครราชสีมา  เมื่อวันอังคารขึ้น  12  ค่ำ  เดือนอ้าย  ปีเถาะ  เอกศก  จุลศักราช  1241  ตรงกับวันที่  25  พฤศจิกายน  พุทธศักราช  2422  มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน  5  คน  เป็นชาย  4  หญิง  1  พี่ชาย  3  คือ  นายเทาหรือ (บุญ)  นายแป้น  นายดำ  พี่หญิงคือ นางแตงโม  ทุกท่านได้สิ้นชีพไปหมดแล้ว

เมื่อเป็นเด็กได้ศึกษาหนังสือไทยในสำนักวัดทองหลาง  อันเป็นวัดประจำตำบลนั้น  ภายใต้ความปกครองของพระอาจารย์จิตร  ครั้นศึกษาภาษาไทยพออ่านออกเขียนได้คล่องแล้ว  จึงศึกษาภาษาขอมเพิ่มเติมตามควรแก่สมัยนิยมในยุคนั้น  พออายุได้  17  ปี  จึงลาออกจากวัดไปช่วยผู้ปกครองทางบ้าน  ประกอบอาชีพกสิกรรมอยู่จนอายุ  20  ปี  
อายุ  21  ปี  ได้บรรพชาอุปสมบท  ณ  พัทธสีมา  วัดทองหลาง  อำเภอโนนลาว  (บัดนี้เปลี่ยนเป็นโนนไทย)  จังหวัดนครราชสีมา  เมื่อวันที่  12  มีนาคม  พ.ศ. 2442  สำเร็จญัตติเวลา  10.15 น.  พระครุจันทร์  เจ้าคณะแขวง  (บัดนี้เรียกว่าเจ้าคณะอำเภอ  จำราชทินนามไม่ได้ )  เป็นพระอุปัชฌายะ  พระปลัดจิตร  เป็นกรรมวาจาจารย์  พระอาจารย์พลาย เป็นพระอนุสาวนาจารย์
            ในฐานะที่ท่านเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวดอนกลอยและชุมชนใกล้เคียง ท่ามกลางสภาวะสงครามและความหวาดระแวงในยุคสมัยนั้น ชาวบ้านต่างก็ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ ดังนั้นในสมัยหลวงพ่อท่านมีชีวิตอยู่ท่านก็ได้จัดทำวัตถุมงคลไว้จำนวนหนึ่งเพื่อสงเคราะห์แก่คณะศรัทธา เท่าที่สืบทราบในรายการหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
พระพิมพ์ดินเผา เป็นพระพิมพ์ชุดแรกและชุดเดียวของท่านที่ท่านสร้างและทำพิธีตามตำรับตำราของท่านพระบูรพาจารย์ไว้เป็นจำนวนมาก แต่พระของท่านจะมีขนาดเล็กกว่า แบบพิมพ์ก็ไม่คมชัดนักคงจะเกิดจากการถอดจากพระต้นแบบอีกที ในด้านเนื้อหาส่วนใหญ่จะดูหยาบ ๆ ฟูๆ แต่บางองค์ที่แก่ไฟเนื้อจะออกดำและแกร่ง ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือด้านหลังขององค์พระจะปรากฎรอยนิ้วมืออยู่ทั่วไป  
แผ่นใบลานลงอักขระ 
           เป็นเครื่องรางที่หลวงพ่อท่านทำให้สูกศิษย์ในยุคต้น ๆ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หรืออาจจะก่อนหน้านั้นเสียด้วยซ้ำ ซึ่งท่านจะตัดใบลานจารอักขระแล้วปลุกเสกให้ โดยมีความกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 2 นิ้ว มีรอยจารอักขระอยู่ 8-9 ตัว อ่านได้ใจความว่า พุทธังอัด ธัมมังอุด สังฆังปิด
ตะกรุดสาลิกา ของขลังอีกประการหนึ่งนั้นได้แก่ตะกรุดสาลิกา ซึ่งทำจากแผ่นเงินเล็ก ๆ จารอักขระแล้วม้วนเป็นตะกรุดเสร็จแล้วจึงทำการปลุกเสกอีกครั้ง มักจะใส่ตลับสีผึ้งหรือยาหม่องให้ ว่ากันว่าตะกรุดสาลิกาของท่านขลังนักในเรื่องเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย และถ้าใครทำไม่ดี ผิดศีลผิดข้อห้าม ตะกรุดที่อยู่ในตลับยาหม่องจะหายไปเองได้อย่างอัศจรรย์
รูปถ่ายรุ่นแรก  
          และที่เป็นที่นิยมกันนักหนานั่นก็คือ รูปถ่ายหุ้มทองแดง ซึ่งจะเป็นรูปหลวงพ่อห่มเฉียงพาดสังฆาฏินั่งพับเพียบมือทั้งสองข้างวางที่เข่า ทางขวามือมีพัดยศตั้งอยู่ด้านข้างเป็นรูปอัดกระจกเลี่ยมขอบด้วยทองแดงมีห่วงเชื่อมสำหรับคล้องคอ และสันนิษฐานว่าน่าจะจัดสร้างในคราวที่ท่านได้ชั้นพระครูคือเมื่อประมาณปี 2490 นอกจากนี้ก็ยังมีตะกรุดเคียนเอว ผ้าเช็ดหน้า ผ้ายันต์ ซึ่งท่านจะทำให้เป็นรายบุคคลไม่มีมาตรฐานแน่นอนจึงมิได้นำมากล่าวด้วย  ส่วนเหรียญรูปท่านครึ่งองค์นั้นทำแจกในวันพระราชทานเพลิงศพเมื่อปี พ.ศ.2500 ในเรื่องอภินิหารจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อจูล้วนเป็นที่เชื่อถือกันมาช้านานของชาวบ้านดอนกลอยและบริเวณใกล้เคียง ดังจะยกตัวอย่างบางเหตุการณ์มาเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้ประสบการณ์รูปถ่ายหลวงพ่อจู
           รายแรกชื่อนางสาวมานิตย์เป็นชาวบ้านดอนกลอยครั้งหนึ่งเธอเคยคิดสั้น  เนื่องจากผิดหวังจากความรักและรู้สึกเสียใจมาก  จึงคิดฆ่าตัวตายด้วยการยิงตัวเองด้วยอาวุธปืน  ลูกโม่  รีวอลโล่.22  หันปากกระบอกจ่อหัวตัวเองแล้วตัดสินใจลั่นไก  ปรากฏว่าดินปืนไม่จุดระเบิดถึง  2  ครั้ง  ด้วยความสงสัยว่า  ลูกปืนมีปัญหารึเปล่าจึงหันปากกระบอกปืนไปทางอื่น  แล้วลั่นไกเสียงดังโป้ง  ดินปืนทำงานตามปกติ  จึงหันปากกระบอกจ่อขมับตัวเองอีกครั้งแต่ผลปรากฏว่า  แชะ  แชะ  ดินปืนไม่ทำงานเหมือนเดิม  เป็นเวลาเดียวกันที่คุณแม่ของ  นางสาวมานิตย์เข้ามาห้ามไว้พอดี  การรอดชีวิตเพราะความขาดสติยั้งคิดในครั้งนี้เชื่อว่าเกิดจากอิทธิฤทธิ์จากรูปถ่ายหุ้มฝาบาตรของหลวงพ่อจูที่ห้อยคออยู่เพียงองค์เดียว   เธอจึงมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบัน  และได้ถือเพศรักษาพรหมจรรย์ด้วยการบวชชี
อีกรายหนึ่งชื่อ นายฝน  เกิดสุวรรณ  ชาวบ้านดอนกลอย  หมู่  6  ได้เคยทดลองยิงห่อผ้าซึ่งภายในมีพระเครื่องต่าง  ๆ  ประมาณ  30  องค์  ห่อผ้าไว้  แล้วใช้ปืนแก๊ปบรรจุลูกตะกั่วประมาณ  20 – 30  ลูก  โดยประมาณ ปรากฏว่ายิงออกกลุ่มลูกกระสุนประทะกับห่อพระกระจุยกระกระจายไปคนละทิศคนละทาง  เมื่อยิงเสร็จแล้วนายฝนก็ไปดูผลงานให้แน่ใจอีกครั้ง  แต่เมื่อมองไปยังบริเวณที่ห่อผ้าวางอยู่เขาถึงกับขนลุกทั้งตัวเพราะมีเพียงรูปถ่ายหลวงพ่อจูเพียงองค์เดียวเท่านั้น  ที่อยู่รอดปลอดภัย  จากกลุ่มลูกกระสุนนับสิบจึงเป็นที่หวงแหนยิ่งนัก
ประสบการณ์พระพิมพ์ดินเผาหลวงพ่อจู

         อีกรายหนึ่งเป็นภรรยาของ  จสอ.  จอม  เนียมคำ  มีอาชีพค้าชาย  อยู่ที่บ้านขุนจัด  ในวันเกิดเหตุ  คนร้ายทำทีว่าจะมาซื้อของ  แต่ฝ่ายภรรยา สังเกตเห็นว่ามีพิรุธจึงไหวตัวจะหลบเข้าหลังร้าน  คนร้ายจึงชักปืนลูกซองสั้น  ยิงถูกบริเวณไหล่ซ้าย  แต่ผลปรากฏว่า  ความแรงของลูกปืน  ไม่สามารถเข้าไปในผิวหนัง

อ้างอิงโดย นายถวิล   รักกสิกร และ กำนันสนับ  สีธูป และ sitluangporguay.com/forum/index.php?topic=4206.0

 

ภายในศาลาหลังเก่า


 

ภาพพุทธประวัติสมัยเก่า ( .. 2500 )

 

ตู้หอไตรสมัยเก่า 

 

 

โบราณวัตถุ 

 

  

พระอุโบสถหลังใหม่ 

 

 *********************************************************

ประวัติโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี

DSCF2392.JPG 

DSCF2397.JPG

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

จัดตั้งขึ้นตามโครงการจัดตั้งโรงเรียนภ.ป.ร.ราชวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลเดชฯเนื่องในมหามงคลวโรกาสเถลิงถวัลยราชสมบัติ50ปี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2539 

โดยกระทรงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2538 ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 
จังหวัด อุทัยธานี " ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อใหม่ให้ว่า โรงเรียน " กาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี"


ภาพสถานที่

 



 



 



 



 



 


  

 



 



Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  6,996
Today:  4
PageView/Month:  34

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com